ที่ตั้ง
ตำบลแควอ้อม อยู่ห่างจากตัวอำเภออัมพวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 5.5 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ
|
จรดตำบลบางสะแก ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามโดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำ ประโดงข้าง โรงขายข้าวสารไปทางทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางคลองแควอ้อมสิ้นสุดที่แม่น้ำ แม่กลองปากคลองแควอ้อมรวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 1.7 กิโลเมตร |
ทิศใต้
|
จรดตำบลสวนหลวง ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากปากคลองบางแค ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามกึ่งกลางคลองบางแคถึงคลองตาตั๋น ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางคลองตาตั๋นถึงลำประโดง สวนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามกึ่งกลางลำประโดงสวนถึงคลองตาชูไปทางทิศตะวัน ตกตามกึ่งกลางคลองตาชูเข้าปลายคลองอ้อม สิ้นสุดที่ปลายคลองบางเชิงกรานบรรจบกับปลายคลองอ้อม รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 4.5 กิโลเมตร |
ทิศตะวันตก
|
จรดตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากปลายคลองบางเชิงกรานบรรจบ กับปลายคลองอ้อม ไปทางทิศเหนือตามกึ่งกลางคลองบางเชิงกรานไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางลำประโดง ข้างโรงขายข้าวสารสิ้นสุดที่ปากลำปะโดงข้างโรงขายข้าวสารรวมระยะทาง ด้านทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร |
ทิศตะวันออก
|
จรดตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากแมน้ำแม่กลอง ปากคลองแนวเขตเริ่มจากแม่น้ำแม่กลองปากคลอง แควอ้อม ไปทางทิศใต้ตามกึ่งกลางแม่น้ำแม่กลอง สิ้นสุดที่ปากคลองบางแค รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 1.6 กิโลเมตร |
ภูมิประเทศ
ตำบลแควอ้อม มีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่มพื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการทำเกษตรกรรม เกือบทุกชนิด มีแน่น้ำแม่กลองไหลผ่านและ มีคลองแควอ้อมเป็นแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร และเป็นทางคมนาคมทางน้ำ ซึ่งในปัจจุบันการคมนาคมทางบกได้เข้ามามี บทบาทมากขึ้นมีถนนตัดลาดยางและลูกรังเข้าหมู่บ้านมากขึ้น ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ตำบลแควอ้อมเคยถูกใช้เป็นเส้นทางสัญจรของเรือค้าขายจากต่างประเทศระหว่างปาก แม่น้ำแม่กลองและเมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยทราวดี บริเวณสองฝั่งริมน้ำมีการตั้งถิ่นฐานเป็บชุมชนมาแต่อดีต เคยมีศูนย์กลางการค้าขายดั้งเดิมที่เป๋นตลาดน้ำ เป็นเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น |
ประชากร / เนื้อที่ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2565)
ตำบลแควอ้อมมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,169 คน แยกเป็นชาย 1,019 คน หญิง 1,150 คน จำนวน 647 ครัวเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อมมีเนื้อที่ โดยประมาณ 4.83ตารางกิโลเมตรหรือ 3,018 ไร่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
เนื้อที่ |
ตร.กม. |
ไร่ |
หมู่ที่ 1 บ้านปลายคลองอ้อม |
79 |
112 |
125 |
237 |
0.82 |
512 |
หมู่ที่ 2 บ้านคลองอ้อม |
44 |
72 |
91 |
163 |
0.32 |
200 |
หมู่ที่3 บ้านปากคลองอ้อม |
46 |
72 |
101 |
173 |
0.29 |
181 |
หมู่ที่4 บ้านคลองบางเชิงกราน |
77 |
103 |
126 |
229 |
0.52 |
325 |
หมู่ที่5 บ้านบางเกาะ |
117 |
216 |
217 |
433 |
0.54 |
337 |
หมู่ที่6 บ้านปากน้ำ |
81 |
154 |
162 |
316 |
0.35 |
219 |
หมู่ที่7 บ้านบางแคใหญ่ |
143 |
217 |
242 |
459 |
0.56 |
350 |
หมู่ที่8 บ้านคลองบางแค |
60 |
73 |
86 |
159 |
0.41 |
256 |
รวมทั้งสิ้น |
647 |
1,019 |
1,150 |
2,169 |
3.86 |
2,380 |
อาชีพ
อาชีพหลัก คือ ทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่ ส้มโอ มะพร้าว
อาชีพรอง คือ รับจ้าง ค้าขาย
หน่วยธุรกิจในเขตอบต.
ปั้มน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน 3 แห่ง
ร้านค้าขายปลีกจำนวน 10 แห่ง
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษามี 2 แห่งคือ
โรงเรียนวัดปากน้ำ (อมรวิมลจันทร์)
โรงเรียนวัดบางเกาะเทพศักดิ์
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านมี 8 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัดมี 4 แห่งคือ
วัดบางแคใหญ่
วัดบางแคน้อย
วัดปากน้ำ
วัดบางเกาะเทพศักดิ์
ศาลเจ้ามี 2 แห่ง อยู่ที่หมู่ 6 บ้านปากน้ำ และ หมู่ 7 บ้านบางแคใหญ่
โรงเจมี 1 แห่ง อยู่ที่หมู่ 7 บ้านบางแคใหญ่
สาธารณสุข
โรงพยาบาลอัมพวา ขนาด 30 เตียง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จุดตรวจมี 1 แห่ง คือ จุดตรวจตำบลแควอ้อม (หน้าโรงพยาบาลอัมพวา)
การคมนาคม
ถนนลาดยาง จำนวน 8 สาย
ถนนหินคลุก จำนวน 5 สาย
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 สาย
ทางเดินเท้าคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 4 สาย
แผ่นปูนทางเดินเท้า จำนวน 10 สาย
การโทรคมนาคม
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 4 แห่ง
การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าครบทั้ง 8 หมู่บ้าน
แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ
มีจำนวน 10 สาย ได้แก่
คลองอ้อม
คลองบางเชิงกราน
คลองบางแคใหญ่
คลองแควอ้อม
คลองบางเกาะ
คลองยายชู
คลองบางศรีเพชร
คลองบางแคน้อย
คลองตาตั๋น
คลองยายชี
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง/ ระบบประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 7 แห่ง
หมู่ที่ |
ครัวเรือน |
ประชากร |
ระบบประปา |
แบบ |
ความจุหอถัง
(ลบ.ม.) |
จำนวนที่ได้รับ/
ไม่ได้รับบริการ(ราย) |
อปท. |
กปภ. |
ได้รับ |
ไม่ได้รับ |
1 |
79 |
237 |
1 แห่ง |
ไม่มี |
บาดาล |
20 |
อปท. 67 / กปภ. 0 |
10 |
2 |
44 |
163 |
- |
มี |
ผิวดิน |
- |
อปท. 36 / กปภ. 5 |
(-1) |
3 |
46 |
173 |
1 แห่ง |
มี |
ผิวดิน |
20 |
อปท. 30 / กปภ. 9 |
8 |
4 |
77 |
229 |
1 แห่ง |
มี |
บาดาล |
20 |
อปท. 68 / กปภ. 4 |
0 |
5 |
117 |
433 |
1 แห่ง |
มี |
บาดาล |
20 |
อปท. 101 / กปภ. 12 |
(-2) |
6 |
81 |
316 |
1 แห่ง |
มี |
ผิวดิน |
20 |
อปท. 86 / กปภ. 1 |
(-5) |
7 |
143 |
433 |
1 แห่ง |
มี |
ผิวดิน |
20 |
อปท. 121 / กปภ. 8 |
11 |
8 |
60 |
159 |
1 แห่ง |
มี |
บาดาล |
20 |
อปท. 44 / กปภ. 24 |
(-12) |
รวม |
647 |
2,169 |
7 แห่ง |
|
|
|
อปท. 553 / กปภ. 63 |
9 |
ชีวิตความเป็นอยู่
สภาพวิถีชีวิตของผู้คน แต่เดิมอาศัยลำคลองเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตยังคงมร่องรอยปรากฎให้เห็น อยู่ อาชีพหลักคือ เกษตรกรรทำสวนลิ้นจี่และส้มโอเป็นจำนวนมาก สวนมะพร้าวมีน้อยลง เริ่มมีกิจการบ้านพัก( โฮมสเตย์ ) เกิดขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว วิถีชีวิตชุมชนอยู่อย่างเรียบง่าย ยังคงสภาพชุมชนชาวสวนริมน้ำและบรรยากาศของชุมชนชนบทริมน้ำค่อนข้างสมบูรณ์ เรียบง่ายกับธรรมชาติที่มีอยู่เป็นลำคลองที่มีวัดตั้งอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา และในปัจจุบันได้จัดให้เป็นสถานที่สำคัญ ซึ่งเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบล |
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดบางแคใหญ่ เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวตำบลแควอ้อมและใกล้เคียง และชมปฎิมากรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อุโบสถวิหารคต
วัดบางแคน้อย เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวตำบลแควอ้อมและใกล้เคียง และมีปฎิ มากรรมอุโบสถไม้สักแกะสลัก 3 มิติ
วัดปากน้ำ เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวตำบลแควอ้อมและใกล้เคียง นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม และชมปฎิมากรรมโมเสก วิหารพระพุทธไสยาสน์ และประดิษฐ์กรรมโมเสกวิหารพระนอน พระพุทธบาทสี่รอย
วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวตำบลแควอ้อม และใกล้เคียงนมัสการองค์อวโลกิเดศวรกวนอิม จิตรกรรม ฝาผนัง
หุ่นกระบอก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดผลงานที่ฝากไว้ให้กับคนรุ่น หลัง ผลงานของ ครูวงษ์ รวมสุข ซึ่งจะมีการแสดงที่อุทยาน ร.2 เนื่องจากพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ เสด็จมาทุกปี
ศูนย์อนุรักษ์แมวไทยโบราณ เป็นสถานที่อนุรักษ์แมวไทยสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน |
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ต้นลิ้นจี่ 200 ปี ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ คือ เป็นต้นกำเนิดของต้นลิ้นจี่ของจังหวัดสมุทรสงคราม มีชื่อว่า "ค่อม" ซึ่งออกผลทุกปีและเป็นสถานที่สำคัญ คือ เป็นพลับพลาที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางฯ ซึ่งได้เสด็จเยี่ยมชม |
ทิศเหนือ |
จรดตำบลบางสะแก ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามโดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำ ประโดงข้าง โรงขายข้าวสารไปทางทิศตะวันออกตามแนวกึ่งกลางคลองแควอ้อมสิ้นสุดที่แม่น้ำ แม่กลองปากคลองแควอ้อมรวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 1.7 กิโลเมตร |
ทิศใต้ |
จรดตำบลสวนหลวง ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากปากคลองบางแค ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามกึ่งกลางคลองบางแคถึงคลองตาตั๋น ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางคลองตาตั๋นถึงลำประโดง สวนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามกึ่งกลางลำประโดงสวนถึงคลองตาชูไปทางทิศตะวัน ตกตามกึ่งกลางคลองตาชูเข้าปลายคลองอ้อม สิ้นสุดที่ปลายคลองบางเชิงกรานบรรจบกับปลายคลองอ้อม รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 4.5 กิโลเมตร |
ทิศตะวันตก |
จรดตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากปลายคลองบางเชิงกรานบรรจบ กับปลายคลองอ้อม ไปทางทิศเหนือตามกึ่งกลางคลองบางเชิงกรานไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือตามกึ่งกลางลำประโดง ข้างโรงขายข้าวสารสิ้นสุดที่ปากลำปะโดงข้างโรงขายข้าวสารรวมระยะทาง ด้านทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร |
ทิศตะวันออก |
จรดตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากแมน้ำแม่กลอง ปากคลองแนวเขตเริ่มจากแม่น้ำแม่กลองปากคลอง แควอ้อม ไปทางทิศใต้ตามกึ่งกลางแม่น้ำแม่กลอง สิ้นสุดที่ปากคลองบางแค รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 1.6 กิโลเมตร |
|