ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

พิมพ์
เขียนโดย แควอ้อม    วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2015 เวลา 21:28 น.
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและทีดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น
โรงเรือน หมายถึง บ้านตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน ธนาคาร โรงแรม ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน แพ คานเรือ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
ที่ดินซึ่งใช่ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและบริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
 
ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน  
ผู้รับประเมิน (เจ้าของทรัพย์สิน จะต้องยื่นแบบ(ภ.ร.ด. 2) ณ ส่วนการคลัง งานจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เมื่อผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (แบบ ภ.ร.ด. 8 ) จะต้องชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งค่าภาษี
การยื่นอุทธรณ์
เมื่อผู้รับการประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินค่าภาษีใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ร.ด. 8 )
อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี (ค่าเช่า)
 
การไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดเวลา
กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
กรณีผู้รับการประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินค่าภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ดังนี้
  • ค้างชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี
  • ค้างชำระเกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของค่าภาษี
  • ค้างชำระเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี
  • ค้างชำระเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนแบะที่ดินพ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2543 มาตรา 44 กำหนดว่า “ ถ้ามิได้การชำระภาษี และเงินเพิ่มภายใน 4 เดือนให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็น ค่าภาษีเงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ”
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำขึ้นให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
ผู้เป็นเจ้าขอป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่
 
การชำระเงินค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องขำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งการประเมินหรือชำระค่าภาษีในวันที่ยื่นแบบเลยก็ได้
 
อัตราค่าภาษีป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนคิดอัตราร้อยละ 3 บาท /500 ซม.
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและครื่องหมายอื่น คิดในอัตรา 20 บาท /500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศติดในอัตรา 40 บาท /500 ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้าย 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีป้ายในกำหนดเวลา
ผู้เป็นเจ้าจองรายได้ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก “ ที่ดิน ” ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย
ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.บ.ท. 5 ) ณ ส่วนกองคลัง ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี
กรณีบุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินเดิมเปลี่ยนไป ให้เจ้าของที่ดินแบบแสดงรายการที่ดิน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เป็นเจ้าของที่ดินขึ้นใหม่ หรือ จำนวนเนื้อที่ดินที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
 
การชำระเงินภาษีบำรุงท้องที่
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี
การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนดเวลา
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี
กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่ชำระค่าภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ของจำนวนเงินค่าภาษีต่อเดือน

ติดต่อชำระภาษี

ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม  อำเภออัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 โทร 034-702129 แฟกซ์ 034-702129 อีเมลล์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"

alt
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2015 เวลา 22:00 น.